ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล๊อก นางสาวชมพูนุท คงสัตย์ นักศึกษา ป.บัณฑิต หมู่ 1 รุ่น 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นาฬิกาชีวิต


นาฬิกาชีวิต องค์รวมสุขภาพแบบ A.M./P.M. (Twenty-Four Seven)
การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบด้วยหัวใจ,เยื่อหุ้มหัวใจ,ปอด,ม้าม,ตับ,ไต,กระเพาะอาหาร,ถุงน้ำดี,ลำไส้ใหญ่,ลำไส้เล็ก,กระเพาะปัสสาวะ,ระบบความร้อนของร่างกาย,การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ)ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า "นาฬิกาชีวิต" ต่อมเล็กๆ ในสมองของมนุษย์คือจุดควบคุมจังหวะสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นไปในลักษณะต่างๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ดังนั้น การดูแลควบคุมพฤติกรรมในแต่ละวันให้สัมพันธ์กับนาฬิกาภายในร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ให้ผลทั้งการควบคุม สมดุล ความปกติของสุขภาพ และสัดส่วนน้ำหนัก และนี่คือสิ่งที่ควรรู้
หากเราได้รู้จักนาฬิกาชีวิตของตัวเอง ก็อาจจะสามารถบาลานซ์การใช้ชีวิต โรคภัยย่างกรายมาถามหาน้อยลง
01.00-03.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงาน ของ "ตับ" ควรหลับพักผ่อนให้สนิท
03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ปอด" ควรตื่นมาสูดอากาศสดชื่น
05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาของ "ลำไส้ใหญ่" ควรขับถ่ายอุจจาระ
07.00-09.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "กระเพาะอาหาร" ควรกินอาหารเช้า
09.00-11.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงาน "ม้าม" ควรพูดน้อย กินน้อย ม้ามทำหน้าที่ในการดึงเอาธาตุเหล็กจากฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงนำมา ใช้ในร่างกาย และยังทำหน้าที่เอาของเสียออกจากกระแสเลือดในรูปของน้ำปัสสาวะเช่นเดียวกับ ตับ
11.00-13.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "หัวใจ" ควรเลี่ยงการใช้ความคิด ความเครียด ระงับอารมณ์ตื่นเต้นตกใจ
13.00-15.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ลำไส้เล็ก" ควรงดกินอาหารทุกประเภท ลำไส้เล็กมีหน้าที่ย่อยอาหาร ตั้งแต่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
15.00-17.00 น. เป็นช่วงเวลาทำงานของ "กระเพาะปัสสาวะ" ควรทำให้เหงื่อออก
17.00-19.00 น. เป็นช่วงเวลาทำงานของ "ไต" ควรทำตัวให้สดชื่น
19.00-21.00 น. เป็นช่วงเวลาทำงานของ "เยื่อหุ้มหัวใจ" ควรทำสมาธิ สวดมนต์
21.00-23.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ระบบความร้อน" ห้ามอาบน้ำเย็น ตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น
23.00-01.00 น. เป็นช่วงเวลาการทำงานของ "ถุงน้ำดี" ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน สวมชุดนอน ผ้าฝ้าย เพราะผ้าสังเคราะห์จะดูดน้ำในร่างกาย โดยถุงน้ำดีทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กินอาหารตามกรุ๊ปเลือด

กรุ๊ปเลือดโอ : จัดเป็นพวกโปรตีน (High Protein Diet)
ลักษณะเด่นของเลือดกรุ๊ปโอคือ น้ำย่อยในระบบย่อยอาหารมีความเป็นกรดสูง ซึ่งเหมาะกับอาหารประเภทเนื้อแดงหลายชนิด ผักและผลไม้ส่วนใหญ่มีประโยชน์กับกรุ๊ปเลือดโอ แต่นมวัว และชีสแทบทุกชนิดจะย่อยยากสำหรับคนเลือดกรุ๊ปโอ ที่สำคัญที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงจนถึงการงดการรับประทานแป้งสาลี เพราะเลคตินในแป้งสาลีจะทำปฏิกิริยาที่เป็นผลเสียเลือดและรบกวนระบบเผาผลาญของร่างกาย
สิ่งที่ควรเน้นเพิ่มคือ ปลาและอาหารทะเล ทั้งนี้เพื่อเพิ่มแคลเซียมซึ่งร่างกายจะไม่ได้รับจากนมวัว และเพิ่มไอโอดีนเพื่อประโยชน์ของฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมักจะไม่คงที่
อาหารที่ควรรับประทาน
- เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง ยกเว้นเนื้อหมู เนื่องจากกระเพาะของคนกรุ๊ปเลือดโอมีความเป็นกรดสูงย่อยอาหารได้เร็วและดูดซึมได้ดีมาก
- อาหารทะเล ควรรับประทานเป็นประจำ จะช่วยป้องกันโรคเลือดไม่แข็งตัวและไทรอยด์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายในคนกรุ๊ปเลือดโอ
- ผักผลไม้ที่ดี ได้แก่ บร็อคโคลี่ สปินิช คะน้า สับปะรด พลับ พรุน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญอาหาร
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารทุกชนิดที่ทำจากแป้งสาลี เพราะจะมีปฏิกิริยาต่อระบบย่อยและระบบเลือด ทำให้น้ำหนักเพิ่มและเสี่ยงต่อโรคข้อเสื่อม
- ผักจากพวกกะหล่ำ ที่จะมีผลต่อระบบไทรอยด์ เห็ดหอม มะเขือยาว มันฝรั่งและข้าวโพดไม่ดีต่อกรุ๊ปเลือด
- เครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟและเบียร์ ซึ่งจะเพิ่มกรดในกระเพราะอาหารที่มีมากอยู่แล้ว

กรุ๊ปเลือดเอ : จัดเป็นพวกมังสวิรัติ (Vegetarian Diet)
คนกรุ๊ปเลือดเอมีน้าย่อยในกระเพาะอาหารมีความเป็นกรดต่ำ ทำให้ไม่เหมาะกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อแดง เพราะจะย่อยได้ยาก และเป็นเหตุให้เกิดสารท็อกซินขึ้นในร่างกาย ควรหันมารับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อปลาและเนื้อไก่แทน แต่ควรเลี่ยงปลาเนื้อขาว เช่น ปลาตาเดียวและประจาระเม็ดเพราะมี เลคตินที่รบกวนระบบย่อยของกรุ๊ป A ที่น่าจะระวังเป็นพิเศษ คือ อาหารสำเร็จรูปประเภทไส้กรอกหรือแฮมเพราะมีสารประกอบไนเตรทอยู่มาก สามารถกระตุ้นการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารซึ่งมีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ รวมทั้งเพิ่มการรับประทาน วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำงานที่ดีของระบบภูมิคุ้มกันและยังช่วยลดปัญหาเรื่องของกรดในกระเพาะอาหารต่ำอีกด้วย
อาหารที่ควรรับประทาน
- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วลิสงจะดีมาก เพราะมีเลคตินที่ต่อต้านมะเร็ง
- ผักผลไม้ที่ดี ได้แก่ หอมใหญ่และบร๊อคโคลี่ มีสารแอนตี้อ็อกซิเด้นท์สูง แครอท ฟักทอง ผักโขมและกระเทียม ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน สับปะรด ส้มโอและมะนาวมีกรดที่ช่วยย่อยและเพิ่มการทำงานของ ลำไส้เล็ก
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- อาหารประเภทเนื้อสัตว์ เพราะจะทำให้ย่อยยากและเกิดการสะสมของไขมัน อาจทำให้เป็นโรคหัวใจและมะเร็ง ควรหันมารับประทานเนื้อไก่และเนื้อปลาแทน
- ผลิตภัณฑ์นมวัว และเนย ซึ่งจะชะลอระบบเผาผลาญอาหารและเกิดเสมหะเพิ่มขึ้น
- อาหารประเภทดองและอาหารสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอกและแฮม เพราะมีไนไตรท์ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ง่ายสำหรับคนกรุ๊ปเลือดเอที่มีกรดในกระเพาะอาหารต่ำ
- ผักผลไม้ ได้แก่ มะเขือเทศ ส้ม แตงโม แคนตาลูป เพราะจะทำให้ย่อยยาก
- เครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมและเบียร์

กรุ๊ปเลือดบี : จัดเป็นพวกผสมผสาน (B–BALANCE)
ลักษณะเด่นคือ คนกรุ๊ปเลือดบีเป็นกรุ๊ปเดียวที่สามารถรับประทานอาหารประเภท นมวัว เนย และไข่ได้ตามปกติ ยกเว้น เนยแข็งรสเข้มเพราะจะย่อยยาก นอกจากนั้นยังรับประทานเนื้อสัตว์ได้หลากหลายในขณะที่เรื่องของพืชผัก ผลไม้นั้นรับประทานได้หลายชนิด โดยเฉพาะผักใบเขียว ถึงแม้คนกรุ๊ปบีจะมีระบบย่อยที่ค่อนข้างสมดุลที่สุดแต่ยังคงต้องระวังเป็นพิเศษกับเนื้อไก่ ซึ่งมีเลคติกที่รบกวนระบบเลือดอย่างมาก สามารนำไปสู่อาการเส้นเลือดแตกในสมอง และภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ คนกรุ๊ปบีควรเปลี่ยนไปใช้ไก่งวงแทนเนื้อไก่จะเป็นทางเลือกที่ดีมาก และอีกประการหนึ่งคือ ควรงดหอยเชลล์ ปลาแซลมอนชนิดรมควัน กุ้ง ปู และหอยแครง ซึงเป็นอาหารที่ยังอยู่ในข่ายต้องสงสัยเช่นกัน
อาหารที่ควรรับประทาน
- อาหารจำพวกนมเนยไข่ ให้ประโยชน์อย่างมากต่อกรุ๊ปเลือดบี
- เนื้อแกะ ไก่งวงและกระต่าย และปลาน้ำลึก เช่น ปลาหิมะ ปลาจาระเม็ด
- ผัก ผลไม้ให้ผลดีเกือบทุกชนิด ควรรับประทานมากผักมากๆ เพื่อป้องกันโรคที่มาจากเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นง่าย
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- เนื้อหมู และเนื้อไก่ ซึ่งจะรบกวนระบบเลือดที่อาจจะนำไปสู่อาการทางสมองและโรคข้อเสื่อม
- ถัวต่างๆ ไม่ดีต่อคนกรุ๊ปเลือดบี โดยเฉพาะถั่วลิสงและงา ซึ่งจะรบกวนระบบอินซูลิน ที่จะทำให้เกิดการลดน้ำตาลในเลือดเฉียบพลัน
- อาหารทุกชนิดที่ทำจากแป้งสาลี ข้าวโพด ซึ่งมีผลต่อระบบเผาผลาญอาหารและจะทำให้น้ำหนักเพิ่ม ควรรับประทานข้าวเจ้าและเบเกอรี่ที่ทำจากแป้งสเปลท์แทน
- ผัก ผลไม้ ที่ต้องหลีกเลี่ยงอย่างเคร่งครัด ได้แก่ มะเขือเทศ ข้าวโพด มีมีผลต่อกระเพาะอาหารและระบบการย่อยอาหารและการลดน้ำตาลในเลือดเฉียบพลัน

กรุ๊ปเลือดเอบี : จัดเป็นพวกลูกผสมของกรุ๊ปเอและบี
คนกรุ๊ปเลือดเอบีนั้น มีลักษณะการรับประทานอาหารให้เหมาะสมค่อนข้างซับซ้อน เพราะเป็นส่วนผสมของลักษณะเลือดจากกรุ๊ปเอและกรุ๊ปบี ซึ่งนั่นหมายถึงอาหารที่ส่งผลดีต่อร่างกายของคนเลือดกรุ๊ปเอและอาหารที่ส่งผลดีต่อร่างกายคนเลือดกรุ๊ปบี ก็จะส่งผลดีต่อร่างกายคนเลือดกรุ๊ปเอบีด้วย แหล่งโปรตีนที่เหมาะสมได้แก่ อาหารทะเล (ยกเว้นปลาเนื้อขาวแลแซลมอนรมควัน) เต้าหู้ เนื้อแดง บางชนิด เช่น เนื้อแกะ และกระต่าย แต่ควรรับประทานในปริมาณที่ไม่มากนักในแต่ครั้งครั้ง จึงจะย่อยได้ดี ที่สำคัญ คือ ควรรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ซึ่งจะส่งผลดีต่อร่างกายในแง่ป้องกันมะเร็ง คนกรุ๊ปเอบีควรหลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปประเภทไส้กรอกและแฮมซึ่งมีสารประกอบไนเตรต์เช่นเดียวกับคนกรุ๊ปเลือดเอ
อาหารที่ควรรับประทาน
- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและเต้าหู้ และอาหารจำพวกนมเนยไข่ แต่ทานได้ไม่มากนัก
- อาหารทะเล เนื้อแกะ กวาง กระต่าย และไก่งวงในปริมาณน้อยๆ ในแต่ละครั้ง เพราะร่างกายผลิตน้ำย่อยไม่เพียงพอในการย่อยโปรตีนที่มากเกินไป
- ผักสด มีประโยชน์มากๆ เพราะเป็นอาหารสำคัญที่สามารถป้องกันมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายในคนกรุ๊ปเลือดเอบี
- ผลไม้ที่มีไวตามิน C สูง เช่น ส้มโอ เชอร์รี่ สับปะรด จะช่วยต้านมะเร็งและเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับหัวใจ
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- เนื้อวัวเนื้อหมูและปลาแซลมอนรมควัน เพราะย่อยยากและเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
- ถั่งแดง งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ข้างโพด ชะลอการทำงานของอินซูลิน อาจทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงอย่างเฉียบพลัน
- อาหารประเภทดองและอาหารสำเร็จรูป เช่นไส้กรอดและแฮม เพราะอาจทำให้เป็นมะเร็งในกระเพาะอาหาร

การรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามกรุ๊ปเลือดนั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ที่สนใจการดูรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ดี หากท่านสนใจแนวทางการรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือดอย่างละเอียดยิ่งขึ้น สามารถศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากหนังสือ Eat Right your Type โดย Dr. Peter D’adamo ซึ่งท่านเป็นแพทย์แผนธรรมชาติบำบัดดีเด่นของอเมริกาปี 1990 และเป็นที่บุกเบิกทำการวิจัยและทดลองทฤษฎีการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพตามกรุ๊ปเลือด

ข้อมูลที่มา : 4 กันยายน 2547 รายงานการสัมมนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

รายงานสื่อประเภทอุปกรณ์

รายงานส่งอ.แจ๊ค